เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 4. ปรวิตารณกถา (13)
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี การรับคำแนะนำจากผู้อื่น
ในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์นั้นมีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีอยู่ และการรับคำแนะนำจาก
ผู้อื่นในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของปุถุชนมีอยู่ และการรับคำแนะนำจากผู้อื่น
ในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ของปุถุชนนั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[323] สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด
รากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี”
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอน
โคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :285 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [2. ทุติยวรรค] 4. ปรวิตารณกถา (13)
ต่อไปไม่ได้ ฯลฯ เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ
ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะมิใช่หรือ
สก. พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำให้แจ้งธรรมที่ควร
ทำให้แจ้งแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของ
พระอรหันต์มี”
[324] สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมี แต่
การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มี
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นมีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว (แต่)การรับคำ
แนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละราคะได้แล้ว (แต่)การรับคำแนะนำจาก
ผู้อื่นของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :286 }